ระบบเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงจากยุคอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ซึ่งเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการผลิตและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทุกประเทศต่างพยายามใช้ความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม สร้างความได้เปรียบของตนในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสารสนเทศหรือข้อมูลข่าวสาร หรือความรู้ต่างๆ ได้กลายเป็น "สินค้า" และแน่นอนสารสนเทศถูกนับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ "ทุน" ในการผลิตด้วย อย่างไรก็ตาม การรับหรือการส่งข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ จำเป็นต้องมีระบบการจัดการที่สมบูรณ์และมีคุณภาพ โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ ได้แก่ โครงข่ายระบบโทรคมนาคม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลสารสนเทศ และทรัพยากร จึงต้องได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการเร่งพัฒนาให้เทคโนโลยีสารสนเทศทัดเทียมกับประเทศพัฒนาแล้วเพื่อลดช่องว่างทางดิจิตอล (Digital Divide; ความแตกต่างทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสารและการนำไปใช้) ที่กำลังขยายกว้างขึ้นทุกปี ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ยั่งยืนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาสาขาต่างๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ แอบพลิเคชั่นบนเครือข่าย และสารสนเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติม :
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2249 - 2268
Website: http://www.nectec.or.th/rdi/
งานวิจัยซอฟต์แวร์พื้นฐานและทั่วไป (Fundamental and General Software Section) ถูกตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ทั่วไป ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเฉพาะด้าน และสามารถเป็นฐานให้งานอื่นๆ นำไปใช้ต่อได้ โดยเน้นที่การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโอเพนซอร์ส เพื่อความรวดเร็วในการพัฒนา เพราะเป็นการพัฒนาแบบต่อยอด ไม่ได้เริ่มต้นใหม่ทั้งหมด และผลงานยังสามารถเผยแพร่ได้ตามเงื่อนไขของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ทำให้ผลงานถูกส่งถึงผู้ใช้ได้โดยตรง
นอกจากนี้งานฯ ยังร่วมกับซิป้าเพื่อส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สภายในประเทศ ซึ่งหากเพิ่มการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สได้ จะมีผลทำให้
โครงการวิจัยและพัฒนาภายใต้งานวิจัยซอฟต์แวร์พื้นฐานและทั่วไป ได้แก่
การพัฒนาเทคโนโลยีเสียงพูดมีแนวโน้มที่จะออกมาในรูปแบบของระบบอัจฉริยะ (Intelligent System) อาทิเช่น ระบบ Multi-modality และระบบ Digital Library เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเสียงระดับพื้นฐานตั้งแต่การตรวจจับเสียง การรู้จำเสียง การสังเคราะห์เสียง การบีบอัดสัญญาณเสียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งและการจัดเก็บ การประมวลผล เพื่อลดสัญญาณรบกวน รวมถึงการสร้างระบบฐานข้อมูลเสียงเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง RDI-2 เน้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลสัญญาณเสียง เพื่อการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์และเครื่องคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interaction) โดยเน้นเสียงพูดภาษาไทยเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาเฉพาะสำหรับภาษาไทย 4 ด้าน คือ ข้อมูลเสียงพูดภาษาไทย การพัฒนาระบบสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย การพัฒนาระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทย และการพัฒนาระบบระบุผู้พูดสำหรับภาษาไทย โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลเสียงพูดภาษาไทยนั้น เป็นการสร้างข้อมูลพื้นฐานทั้งฐานบทความ และฐานข้อมูลเสียง เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาระบบสังเคราะห์เสียงและระบบรู้จำเสียง และเพื่อเป็นแหล่งฐานข้อมูลมาตรฐาน ที่เปิดเผยให้แก่นักวิจัย เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวกับเสียงพูดภาษาไทยต่อไป
โครงการวิจัยและพัฒนาภายใต้งานวิจัยเทคโนโลยีเสียงพูด ได้แก่
เทคโนโลยีภาพเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอีกสาขาหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความต้องการในการป้อนภาพเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นภาพสี ภาพสีเทา หรือภาพขาวดำ มีความละเอียด แตกต่างกันไปมีมากขึ้นทุกขณะ เทคโนโลยีสำหรับจัดการกับภาพจึงต้องถูกพัฒนาขึ้นอย่างเร่งด่วน ตั้งแต่ขั้นตอนการนำภาพสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การแปลงภาพให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะกับความต้องการ การปรับปรุงภาพ เช่น การกำจัดสิ่งรบกวน การแปลงภาพสี ภาพสีเทา หรือภาพขาวดำให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ การปรับภาพให้คมชัด การปรับภาพให้เรียบ เป็นต้น การบีบอัดภาพให้มีขนาดเล็กและสูญเสียส่วนสำคัญน้อยที่สุด การแบ่งแยกภาพการแทนภาพและการนำภาพมาใช้ประโยชน์ ทั้งการระบุบุคคลด้วยภาพ การรู้จำภาพ และการแปลความหมายจากภาพ เช่น ภาพทางการแพทย์ ภาพทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ การนำเสนอข้อมูลสารสนเทศก็สามารถนำเสนอในลักษณะของภาพ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลดังกล่าวได้ง่ายขึ้น เช่น การจำลองภาพทางอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น
งานวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีภาพที่ RDI-3 ดำเนินการนั้น จะเน้นการวิเคราะห์ภาพและการรู้จำภาพเป็นหลัก ประกอบด้วย งานวิจัยด้านการแปลงเอกสารภาษาไทยเก็บเป็นแฟ้มข้อความ งานวิจัยด้านรู้จำลายมือเขียนภาษาไทยแบบออนไลน์ และงานวิจัยด้านวิเคราะห์ภาพลักษณ์เอกสาร
นอกจากนี้ RDI-3 ยังได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีภาพ ให้ประสบความสำเร็จให้ผู้ใช้งานได้ประโยชน์สูงสุด จากการนำภาพมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ภาพเคลื่อนไหว การแปลงภาพ การปรับปรุงภาพ การบีบอัดภาพ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับภาพ เป็นต้น
โครงการวิจัยและพัฒนาภายใต้งานวิจัยเทคโนโลยีภาพ ได้แก่
ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจัยสำคัญในระบบอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ของประชาชาตินั้น ภูมิภาคต่างๆ ล้วนพยายามใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สร้างความได้เปรียบและฐานอำนาจของตน โดยเฉพาะการรับ-ส่งข้อมูลทั้งหลายและซอฟต์แวร์ต่างๆ อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลขนาดมหึมาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี ทั้งยังเป็นเสมือนสะพานเชื่อมสังคมโลกเข้าหากันด้วย จึงกลายเป็นตัวจักรสำคัญที่ก่อให้เกิดการสั่งสมข้อมูลให้เป็นองค์ความรู้ ข้อมูลต่างๆ นี้เปรียบเสมือนปัญญาหรืออัจฉริยภาพของมนุษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความอีกชั้นหนึ่ง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นด้านฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำความจุสูง หน่วยประมวลผลความเร็วสูงและอินเทอร์เน็ต ล้วนก่อให้เกิดการจัดเก็บและการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนทำให้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือน "ปัญญา" ของมนุษยชาติ ซึ่งยังคงความหลากหลายทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีทางด้านการประมวลผลข้อความ ทั้งการจัดเก็บที่ซับซ้อนขึ้น การกำหนด Tag ในข้อมูลหลายระดับ การค้นคืนที่มีประสิทธิภาพสูง Language Understanding และการแปลภาษา เป็นต้น จึงต้องได้รับการพัฒนาขึ้นด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีพื้นฐานจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับการพัฒนาแล้วและต้องได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว อาทิ หลักเกณฑ์การกำกับข้อมูลให้กับข้อความ (Tagging) ฐานข้อมูลพจนานุกรมฐานข้อความขนาดใหญ่ เป็นต้น
และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญและขนาดอันมหึมาของข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นข้อมูลประเภทข้อความ กลุ่มเทคโนโลยีข้อความ จึงได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนางาน ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อความภาษาไทยโดยเฉพาะ เพื่อให้คนไทยและสังคมโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดนและรวดเร็ว งานของกลุ่มเทคโลโลยีข้อความประกอบด้วย งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการจัดเก็บข้อความ การประมวลผลข้อความ การสืบค้นข้อความ และการพัฒนาเทคโนโลยีแปลภาษา
งานเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความพยายามให้มนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ด้วยข้อความภาษาไทย ตลอดจนเพื่อให้คนไทยสามารถถ่ายทอดและรับคืนข้อมูลและความรู้ต่างๆ โดยปราศจากกำแพงภาษาและข้อจำกัดทางเทคโนโลยี อันจะส่งผลให้เกิดความทัดเทียมทางด้านการเข้าถึงข้อมูลการพัฒนาทางด้านคุณภาพชีวิต ตลอดจนเกิดการสร้างและสั่งสมองค์ความรู้ต่อไป
โครงการวิจัยและพัฒนาภายใต้งานวิจัยเทคโนโลยีประมวลผลข้อความ ได้แก่
ในอดีต ข้อมูลในคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กและถูกจัดเก็บอย่างง่ายๆ ไม่มีโครงสร้าง ปัจจุบันเนื่องจากคอมพิวเตอร์ต่างๆ มีสมรรถนะสูงขึ้นขณะที่มีราคาถูกลง ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่จึงสามารถถูกจัดเก็บได้และสามารถถูกนำมาใช้ในการประมวลผลได้ในภายหลัง ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์มากแต่จะต้องคำนึงถึงวิธีการในการจัดเก็บข้อมูลนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในหนึ่งหรือสองทศวรรษที่ผ่านมา การจัดเก็บในรูปแบบ Relational Database เป็นที่นิยมมาก แม้ว่าการจัดเก็บแบบ Object-Oriented Database จะได้รับความนิยมบ้างในช่วงหลัง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เทคโนโลยีด้าน WWW ได้เป็นที่แพร่หลาย ข้อมูลที่เก็บอยู่ในรูปของ "Text" นั้นก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากมาย ดังนั้นจึงต้องมีระบบที่สามารถจัดการกับข้อมูลที่เป็นรูป "Text" และไม่มีโครงสร้างนี้ได้ RDI-5 เน้นงานวิจัยด้านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลอัจฉริยะ ซึ่งรวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบ และการประมวลผลข้อมูลอย่างชาญฉลาด ทั้งนี้ได้กำหนดงานวิจัยทางด้านต่างๆ ไว้ดังนี้ งานวิจัยด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การจัดการข้อมูล ข่าวสาร และ ความรู้ การจัดการระบบกำกับความข้อมูล เช่น XML การกำกับความหมายของคำหรือประโยค และการวิจัยด้านระบบข้อมูล
นอกจากนี้ งานโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศอัจฉริยะนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยพื้นฐานหรืองานวิจัยประยุกต์อื่นๆ ด้วย ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เทคโนโลยีด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมไปถึงงานด้านต่างๆ ที่จะนำเอาข้อมูลไปประยุกต์ในงานด้านต่างๆ เช่นการศึกษา การแพทย์ การผลิต การเงิน การธนาคาร การท่องเที่ยว กฎหมาย การบริหาร เป็นต้น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลอัจฉริยะนี้จะทำให้เรามีข้อมูลซึ่งมีประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ และลดความผิดพลาดและการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ และสามารถนำข้อมูลพื้นฐานนี้ไปใช้ในงานด้านต่างๆ ที่ต้องการความเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ เช่นด้านการแพทย์ เป็นต้น
โครงการวิจัยและพัฒนาภายใต้งานวิจัยโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศอัจฉระยะ ได้แก่
สงวนลิขสิทธิ์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พุทธศักราช 2537
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 11120
โทร.02-564-6900 ต่อ 2346 - 2355