อิเล็กทรอนิกส์เป็นเทคโนโลยีต้นน้ำที่จำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีแทบทุกชนิด อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่มีการเจริญเติบโต มีนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก้อตาม สำหรับอุตสาหกรรมของไทยแล้วมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในประเทศยังมีสัดส่วนที่ต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรม ในประเทศส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรม รับจ้างประกอบ ไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ไม่มีขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าใหม่ ไม่มีอุตสาหกรรมสนับสนุน ในประเทศซึ่งทำให้ต้องนำเข้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนสำคัญจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด นอกจากนี้มาตรการและ ความเข้มงวด ในด้านมาตรฐานต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ก็ได้กลายมาเป็น กำแพงการส่งออกใหม่ที่สำคัญของประเทศที่จะก้าวเข้าไปผลิตสินค้า ECTI ต่างๆ มาตรการและ ความเข้มงวดในด้านมาตรฐานต่างๆ นี้ เป็นต้นทุนการผลิตสินค้าทั้งในแง่การเงิน เวลา และความสามารถ ทางด้านเทคนิกที่ประเทศผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เหล่านี้ทำให้ได้เพื่อที่จะสามารถ แข่งขัน หรือได้รับการยอมรับในเวทีโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยผลักดันให้ประเทศไทย จะต้องมีมาตรการและงบประมาณ ในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับประเทศต่างๆ เช่น เกาหลี ใต้หวัน สิงคโปร์ ซึ่งได้ทำและ ประสบความสำเร็จ ไปก่อนหน้าแล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติม :
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2417
Website: http://rde.scipark.nectec.or.th/
ห้องปฏิบัติการทดสอบประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Computer and Equipment Testing Laboratory Section: RDEL) มีหน้าที่สร้างมาตรฐานด้านประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์จากทุกบริษัทคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน และจัดทำข้อกำหนดขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท สำหรับการพิจารณาเลือกซื้อ ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าว จะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยการนำโปรแกรมทดสอบ ที่ได้รับการยอมรับมาทำการทดสอบ เพื่อให้คุณภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากบริษัทคอมพิวเตอร์ชั้นนำทั่วประเทศ มีประสิทธิภาพสูงสุดก่อนออกสู่ตลาดผู้บริโภค ทั้งนี้ยังบริการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ผลิต/ประกอบคอมพิวเตอร์ ที่เข้าร่วมโครงการในการพัฒนา กระบวนการผลิต อีกทั้งยังมีหน้าที่เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อและตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อมูลเพิ่มเติม :
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2125
Website: http://pclab.nectec.or.th/
งานวิจัยอิเล็กโตรออปติกส์ (Electro-Optics Section: RDE3) ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2538 โดยมีภาระกิจหลักในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเชิงแสง เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ สาขาวิจัยหลักประกอบด้วย
นอกจากการวิจัยและพัฒนาแล้ว งานวิจัยฯ ยังมีภารกิจในถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิต และการพัฒนาบุคลากรร่วมกับสถาบันการศึกษา ปัจจุบันงานวิจัยฯ มีพนักงาน 13 คน แบ่งเป็นนักวิจัย 5 คน และผู้ช่วยนักวิจัย 8 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม :
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2101 - 2104
งานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม (Industrial Electronics Section: RDE4) เป็นกลุ่มงานที่จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2536 โดยมีเป้าหมายในการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศ ซึ่งทีมงานภายใจกลุ่มจะมุ่งเน้นการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ทั้งทางด้านการออกแบบระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า และระบบแปลงผันพลังงานมาประยุกต์ใช้ โดยที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับเอกชนในการพัฒนาระบบขับเคลื่อนและแปลงผันพลังงานในเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ และมีความสนใจงานวิจัยทางด้านการออกแบบมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง รวมทั้งอุปกรณ์เพื่อประหยัดพลังงานและอุปกรณ์สำหรับพลังงานทดแทน
ข้อมูลเพิ่มเติม :
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2410
งานวิจัยระบบอิเล็กทรอนิกส์และการควบคุม (Electronic System and Control Section: RDE5) ได้จัดทำโครงการห้องปฏิบัติการงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ (Automotive electronics research Laboratory: RDE5 Automotive) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว (Embedded system) สนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศ โดยมุ่งเน้นในส่วนของระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติม :
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2442 - 2245
Website:
http://automotive.nectec.or.th
งานวิจัยอุปกรณ์การแพทย์ (Medical Instrumentation Section: RDE6) ได้จัดทำ
โครงการระบบคอมพิวเตอร์ช่วยงานทันตกรรม เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ช่วยการแพทย์ (Computer-Aided Medicine) นั้นได้เริ่มมีการนำมาใช้งานจริง แต่มักจะเกิดจากการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์มาเพื่อเป็นจุดแรกเริ่มของงาน ภายในประเทศเองก็มีหลายฝ่ายได้ทำการวิจัยงานทางด้านนี้ แต่จากความหลากหลายของการทำงานวิจัย พัฒนาและใช้งานทางด้านคอมพิวเตอร์ช่วยการแพทย์ นี้เองทำให้เกิดปัญหา ทั้งในส่วนของภาคเอกชนและส่วนของภาคราชการ รวมไปถึงภาคการศึกษา ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านั้นได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงผู้ที่อยู่ในวงการ ตัวอย่างเช่น ปัญหาในเชิงการจัดซื้อและใช้งาน อาทิ มีการจัดสร้างระบบสารสนเทศสำหรับงานภาพทางการแพทย์ แต่มักจะขยายระบบให้มีขีดความสามารถเพิ่มไม่ได้ การเกิดความผูกขาดทางการค้า รวมถึงความเสียเปรียบของผู้บริโภค ที่ไม่สามารถเลือกใช้งานอุปกรณ์ที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผลของปัญหานี้ทางตรงคือทำให้สูญเสียงบประมาณ และทำการใช้ระบบที่ต้องการไม่ได ้และอาจส่งผลทำให้ไม่เกิดการเก็บข้อมูลในระยะยาว ซึ่งได้เกิดปัญหาต่อเนื่องในเชิงงานวิจัยได้แก่ ผู้วิจัยไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทดสอบสมมติฐานที่ได้คิดขึ้น ขาดข้อมูลที่เป็นกลางในการทำ benchmark และส่งผลให้งานวิจัยส่วนใหญ่มักจะสิ้นสุดการทำงานที่ห้องทดลอง งานวิจัยสาขาอุปกรณการแพทย์ (RDEุ6) จึงมีภารกิจในการเพิ่มขีดความสามารถ ในด้านการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ การทดสอบเพื่อรับรองมาตรฐาน รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมบริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นในประเทศ มุ่งเน้นเทคโนโลยีการจัดเก็บและวิเคราะห์ภาพการแพทย์ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 3 ปี (2548 - 2550) ที่งานฯ เข้าไปให้การสนับสนุน คือ สื่อสารสารสนเทศ และบริการทางการแพทย์โดยเฉพาะสาขาทันตกรรม โดยใช้ประสบการณ์ในงานวิจัยและพัฒนา ด้านระบบจัดเก็บและวิเคราะห์ภาพการแพทย์ ที่ใช้กับงานรังสีวิทยาที่ได้ดำเนินการมาก่อน สำหรับกลยุทธ์ดำเนินงานในช่วง 2548 - 2551 นั้น จะมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการทางการแพทย์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายศูนย์สุขภาพแห่งเอเชีย (Health Hub of Asia) โดยผ่านผลิตภัณฑ์ด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วยงานทันตกรรม
ข้อมูลเพิ่มเติม :
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2461 - 2464
งานวิจัยสาขาการผลิตอัตโนมัติ (Manufacturing Automation Section: RDEุ8) มีภารกิจในการเพิ่มขีดความสามารถ ในด้านการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิต รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติขึ้นในประเทศ โดยเน้นเทคโนโลยีการควบคุมการเคลื่อนที่ (Motion Control) และแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่กลุ่มเข้าไปให้การสนับสนุน คือ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรกล ในหน่วยงานมีผู้เชียวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ ระบบควบคุม และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ งานที่ผ่านมาจะเน้นงานทางด้านเครื่องจักรกลอัตโนมัติ เช่นเครื่องเย็บรองเท้าอัตโนมัติ เครื่องตัดท่อหม้อน้ำอัตโนมัติ ซอฟท์แวร์จัดเรียงชิ้นงานอัตโนมัติ เครื่องเจียระไนอัตโนมัติ การ์ดควบคุมมอเตอร์ 4 แกน เป็นต้น ในปัจจุบันทางกลุ่มได้ขยายงานวิจัยไปในส่วนของการควบคุมระยะไกล (SCADA) โดยรับผิดชอบในส่วนซอฟท์แวร์จัดการที่ศูนย์ควบคุม (Master Station) อีกทั้งยังให้การอบรมความรู้สำหรับบุคคลภายนอกเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม :
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2417, 2429
Website: http://rde.scipark.nectec.or.th/rde8/
สงวนลิขสิทธิ์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พุทธศักราช 2537
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 11120
โทร.02-564-6900 ต่อ 2346 - 2355